• HOME
  • /
  • News
  • /
  • การได้มาซึ่ง ATPL ของประเทศไทยในปัจจุบัน

การได้มาซึ่ง ATPL ของประเทศไทยในปัจจุบัน

ปัจจุบันในวงการนักบินผู้ที่จะบินกับสายการบิน จำเป็นต้องให้ผู้ที่ทำการบินกับเครื่องบินโดยสารจำเป็นต้องมีความรู้ในระดับนักบินพาณิชย์เอก (Airlines Transport Pilot License , ATPL ) ซึ่งประเทศไทยในปัจจุบัน มีข้อกฎหมายเพื่อรองรับ ความสามารถในระดับผู้ที่มีความรู้ระดับ ATPL ด้วยเงื่อนไขดังนี้

  1. เป็นผู้ถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี(Comercial Pilot License,CPL) ที่มีชั่วโมงบินกับเครื่องบินเฉพาะแบบนั้นๆ 1,500 ชม.บิน
  2. ยื่นคำร้องเพื่อทดสอบภาควิชาการ และต้องผ่านการทดสอบความรู้ จากสำนักงานการบิน พลเรือนแห่งประเทศไทย ,กพท. นักบินพาณิชย์ตรี (Comercial Pilot License,CPL) เป็น นักบินพาณิชย์เอก (Airlines Transport Pilot License , ATPL)
  3. เมื่อผ่านการทดสอบภาควิชาการ ให้ขอยื่นทดสอบภาคอากาศปฏิบัติกับ กพท. และทำการบินทดสอบกับองค์กรต้นสังกัด กับเครื่องบินที่ปฏิบัติการบิน ณ ปัจจุบัน เมื่อผ่านการทดสอบภาคอากาศปฏิบัติภาค จึงมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลง ใบอนุญาตจาก

หากสังเกตุจะพบว่าในเงื่อนไขที่ กพท. กำหนด จะไม่มีในเรื่องของการอบรมมาเกี่ยวข้องเลย นอกเหนือจากการใช้ประสบการณ์บินในเครื่องบินเฉพาะแบบของตน เพียง 1,500 ขม.บิน มาเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งในบางสายการบินใหญ่ๆ ก็อาจมีกระบวนการให้ความรู้ในระดับ ATPL อยู่บ้าง ก่อนไปรับความรู้การบินเฉพาะแบบ แต่ก็เป็นไปในลักษณะการอบรมภายในสายการบินเอง ไม่ได้รับการอนุมัติจาก กพท.ให้เป็นเรื่องที่เด่นชัด ตามหลักเกณฑ์ของ นานาประเทศที่นิยมทำกัน ที่สำคัญบางสายการบินละเลยที่ฝึกอบรมความรู้ ATPL ให้แก่นักบิน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการอบรมอย่างน้อยถึง 2 เดือน ส่วนใหญ่จึงนิยมข้ามการอบรม ATPL ไปให้ความรู้เครื่องบินเฉพาะแบบโดยทันที

เรียนอะไรบ้างใน ATPLและจะได้ประโยชน์อย่างไร ปัจจุบันนักบินพาณิชย์ที่จบการศึกษาจากสถาบันการบิน ที่ กพท. รับรอง จะมีความรู้ในระดับนักบินพาณิชย์ตรี ,ศักย์การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IR) และศักย์การบินด้วยเครื่องยนต์หลายเครื่องยนต์ (ME) รวมชั่วโมงการอบรมภาคพื้นอยู่ที่ 250 ชั่วโมงบิน ดังมีหัวข้อความรู้ที่จำเป็นดังนี้ ความรู้ระดับนักบินพาณิชย์ตรีประกอบไปด้วย

  • Navigation
  • Human Performance
  • Meteorology
  • Aircraft Instrument
  • Power Plant
  • Aircraft Construction
  • Principle of Flight
  • Flight Rules & Regulations
  • Raidotelephony Procedure Code & Abbreviations , Signalling

ความรู้ศักย์การบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน ประกอบด้วย

  • Principles of Instrument Flight
  • IFR Flight Environment
  • Chart for Instrument Flight
  • Instrument Approach
  • IFR Operation Considerations
  • Meteorogy
  • IFR Flight Operation
  • Aviation Regulation

ความรู้ศักย์การบินด้วยเครื่องยนต์หลายเครื่องยนต์ (ME) ประกอบด้วย

    • Aircrft System ,Aircraft Equilibrium , and Aircraft Performance Measurement
    • Aerodynamics and Aircraft Procedures
    • Aerodynamics and Aircraft Multifunction and Emergency Measures
    • Instrument rating Procedure of Aircrafts

ส่วนในความรู้ระดับนักบินพาณิชย์เอก Airlines Transport Incense (ATPL) ประกอบด้วย

  1. Air law and ATC Procedures
  2. Airframe and System Electrics
  3. Instrumentation
  4. Mass and Balance
  5. Performance Aeroplan
  6. Flight Planning and Flight Monitoring
  7. Human Performance
  8. Metrology
  9. General Navigation
  10. Radio Navigation
  11. Operation Procedure
  12. Principle of Flight – Aeroplane
  13. VFR Communication
  14. IFR Communication

        วิชาดังกล่าว ใช้เวลาเรียนเพิ่มเติมอีก 250 ชม.เรียนภาคพื้น โดยมีเงื่อนไข ต้องมีการเรียนความรู้ในระดับนักบินพาณิชย์ตรี (CPL) พร้อมศักย์การบินเครื่องวัดประกอบการบิน(IR) มาแล้ว และมีความต่อเนื่องในการเรียน ในโรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อีกทั้งหลักสูตร ATPL ก็จำเป็นต้องได้รับการรับรองหลักสูตรเช่นเดียวกัน

        อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่ได้บังคับให้นักบินที่บินกับสายการบิน จำต้องรับการอบรมหลักสูตร ATPL ส่วนใหญ่คาดหวังว่า แต่ละสายการบินจะไปเพิ่มเติมความรู้เอง ประกอบกับเมื่อมี ชม.บินมากขึ้นถึง 1500 ชม.บิน ก็น่าจะมีความรู้ มาทดสอบภาควิชาการ ตามความรู้ ATPL ที่กล่าวมาข้างต้นได้ และเมื่อผ่านการทดสอบภาควิชการ และภาคอากาศ นักบินก็สามารถยื่นเปลี่ยนแปลง ใบอนุญาตเป็นนักบินพาณิชย์เอกได้ Airlines Transport Incense (ATPL)

        ถึงกระนั้น ในต่างประเทศกลับคำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้ สำหรับนักบินที่จะเข้าสู่การบินกับสายการบิน ที่มีการบินที่มีความต้องการพื้นฐานของความรู้ที่ซับซ้อนมากกว่า ความรู้ในระดับ นักบินพาณิชย์ตรี ส่วนใหญ่จึงมีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด เช่น ต้องมี ชม.บิน 1500 ชม.บินก่อนเข้าสู่ระบบสายการบิน หรือต้องมีความรู้ในระดับนักบินพาณิชย์เอก ATPL Knowledge โดยมีผลการศึกษาอบรมจากโรงเรียนการบินที่ถูกรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ และผลทดสอบภาควิชาการนำมาแสดงก่อนเข้าสู่ระบบนักบินสายการบิน เรียกขานว่า ATPL Frozen โดยมีระยะเวลาในการ hold ผลทดสอบภาควิชาการตามจำนวนปี ที่แต่ละภาครัฐของประเทศกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ก็ประมาณ 3 ปี ดังนั้นเมื่อนักบินเข้าสู่กระบวนฝึกของแต่ละสายการบิน จึงมั่นใจได้ว่า นักบินเหล่านั้นมีความรู้ในระดับ นักบินพาณิชย์เอกแล้ว สามารถเรียนรู้ต่อเนื่องในความรู้ของเครื่องบินเฉพาะแบบสำหรับสายการบินนั้นๆ ได้เลย และเมื่อนักบินมี ชม.บินครบ 1500 ชม.บิน ก็สามรถยื่นความประสงค์ทดสอบภาคอากาศเพียงอย่างเดียว หากผลการทดสอบผ่าน จึงเปลี่ยนใบอนุญาตจากนักบินพาณิชย์ตรี (CPL) เป็นใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL) ในศักย์การบินเฉพาะแบบเครื่องนั้นๆ ที่ทำการบินในสายการบินของตน เช่น Copilot for A320 จวบจนกระทั่งนักบินนั้นๆ มีความพร้อมใน ชม.บิน มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมตามแต่ละสายการบินพิจารณา ปรับขึ้นเป็นกัปตัน โดยผ่านการทดสอบต่างๆ ภายในสายการบินเอง โดยมีเงื่อนไขว่า นักบินจะต้องถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL) แล้วก่อน แล้วเปลียนตำแหน่งความรับผิดชอบใน ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL) เป็น PIC for ……(แบบเครื่องที่นักบิน บินอยู่)

      สายการบินในประเทศไทย มีจำนวนหลายสายการบิน เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสภาพเศรษฐกิจ ประกอบกับประเทศไทย เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน มีสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่เป็นจุดเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ ดังนั้นประเทศไทยควรมีการยกระดับความรู้ของนักบินในการเข้าสู่สายการบินเพิ่มขึ้น อีกทั้งนานาประเทศก็ยังขาดแคลนนักบินเป็นจำนวนมาก แต่ดังที่ทราบ เงื่อนไขของการรับนักบินสายการบิน จำเป็นต้องมีความรู้ระดับนักบินพาณิชย์เอก ATPL Frozen ผู้เขียนจึงเห็นควรให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาปรับปรุงข้อกฏหมายเพื่อให้ ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศเพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้แรงงานฝีมือ ที่มีคุณภาพของนักบินไทย ได้เข้าสู้ระบบแรงงานของสายการบินต่างประเทศ นำเงินตรา เข้าสู่ประเทศได้จำนวนมหาศาล ลดจำนวนการว่างงานของนักบินที่จบการศึกษา ให้มีงานทำมากกว่ารอตลาดแรงงานภายในประเทศเพียงอย่างเดียว

เขียนและเรียบเรียงโดย กัปตันพัดลม

ช่วงนี้พายุเข้าในหลายพื้นที่ มีหลายวันที่อากาศปิด ทัศนวิสัยไม่ดีเลย หากเรานั่งเครื่องบินจากกรุงเทพไปเชียงใหม่นักบินเค้าจะรู้ได้ยังไง...
Pitot tube (อ่านว่า: พิโต ทูป) คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดความเร็วลม ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นมาโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส Henri Pitot (อองรี พิโต)ในต้นศตวรรษที่ 18 และได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อให้รูปแบบทันสมัยขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 โดย Henry Darcy วิศวกรชาวฝรั่งเศส...
ปริศนาเครื่องบินปักหัวกำลังคลี่คลาย หนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญในการสืบสวน มาจากข้อมูลในกล่องดำ วันนี้เราจะมาทบทวนเรื่องกล่องดำกัน และทำไมเมื่อพบกล่องดำ จึงต้องเอาแช่น้ำไว้...
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save